การแจ้งเกิด

การแจ้งเกิด

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 56,669 view

 

การแจ้งเกิด

ถึงแม้บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดา ก็มีสิทธิและหน้าที่ในการแจ้งเกิดบุตร

1. เอกสารของบิดาและมารดาสัญชาติไทย

1.  คำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด  

2.  บันทึกคำให้การของมารดา

3.  หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด    

4.  บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครอง พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง 1 ชุด     

5.  ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด     

6.  รูปถ่ายสี 1 รูป (ถ่ายร่วมกัน 3 คน บิดา มารดา และบุตร หรือรูปถ่าย 2 คนคือมารดากับบุตรในกรณีที่ไม่มีบิดา) ไม่จำกัดขนาดแต่ควรเห็นหน้าชัดเจน

7.  ทะเบียนสมรสไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน     

8.  ใบรับรองบุตร กรณีบิดารับรองบุตร พร้อมสำเนา 1 ชุด

2. เอกสารประจำตัวบุตร

ต้นฉบับใบรับรองเกิดออกโดยโรงพยาบาลท้องถิ่น และเอกสารจากทางจังหวัดหรืออำเภอรับรองการเกิดของบุคคลดังกล่าว พร้อมสำเนา 1 ชุด โดยนำเอกสารดังกล่าวต้องได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทยและได้รับการรับรองลายมือชือ่ของเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารจาก กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามก่อน  

3. เอกสารของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นคนเวียดนามหรือชาติอื่นๆ
หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่รถยนต์ พร้อมสำเนา 1 ชุด
กำหนดเสร็จ ประมาณ 1 ชั่วโมง


หมายเหตุ

กรณีบิดามารดาจดทะเบียนสมรส

1.      บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลบิดา หากประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลมารดา ทั้งบิดาและมารดาต้องทำหนังสือให้ถ้อยคำยืนยัน

2.      สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถดำเนินการในกรณีที่บิดามารดาประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลของบุคคลอื่นที่มิใช่นามสกุลของบิดามารดา    

กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส

1.      เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาและมีสิทธิใช้นามสกุลของมารดา

2.      หากประสงค์ให้เด็กใช้นามสกุลบิดา บิดาและมารดาต้องทำหนังสือให้ถ้อยคำให้บุตรนอกสมรสใช้นามสกุลบิดา

- การเพิ่มชื่อบุตรในทะเบียนบ้านไทย

1.      ควรทำหนังสือเดินทางไทยให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ และเพิ่มชื่อบุตรเข้าในทะเบียนบ้านไทย หากไม่ทำการเพิ่มชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย บุตรจะเสียสิทธิในประเทศไทย เช่น บุตรอาจจะไม่สามารถเข้าโรงเรียนในประเทศไทยได้

2.      สถานเอกอัครราชทูตฯ และสถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่สามารถแจ้ง ที่ว่าการอำเภอไทยเพื่อเพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านไทยให้ได้ ท่านต้องไปแจ้งที่ว่าการอำเภอไทย ซึ่งโดยทั่วไปต้องไปติดต่อด้วยตนเอง เนื่องจากต้องแสดงหนังสือเดินทางไทยของเด็กที่ได้รับการประทับตราเข้าเมือง จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไทยไปแสดง อย่างไรก็ตาม ควรสอบถามจากที่ว่าการอำเภอ/เขตโดยตรง  

          
สัญชาติ
แนวทางการพิจารณาได้สัญชาติไทยกรณีบุคคลเกิดนอกราชอาณาจักร

สัญชาติบิดา

สัญชาติมารดา

สถานภาพการสมรส

สัญชาติบุตร

ไทย

ไทย

จด

ไทย

ไทย

ไทย

ไม่จด

ไทย

ไทย

อื่นๆ

จด

ไทย

ไทย

อื่นๆ

ไม่จด

ไทย (ม.7 (1) หากพิสูจน์ได้ตาม ม. 7 วรรคสอง)

อื่นๆ

ไทย

จด

ไทย

อื่นๆ

ไทย

ไม่จด

ไทย

 -  เด็กสามารถถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี  หลังจาก จะเป็นหน้าที่ของเด็กที่จะต้องเลือกถือสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ในกรณีที่สละสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยด้วย หากอายุยังไม่ถึง 20 ปี ยังไม่สามารถยื่นคำร้องขอสละสัญชาติได้ ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาไม่สามารถยื่นขอสละสัญชาติแทนบุตรได้ เนื่องจากการสละสัญชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอสละสัญชาติแทนได้ อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายจีนไม่อนุญาตให้มีการถือสองสัญชาติ ควรหารือกับหน่วยงานในท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว