1,364 view

             แผนอพยพเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

1. การเตรียมการ

                1.1 ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของคนไทยพร้อมครอบครัว และบริษัทห้างร้านของคนไทยในเขตความดูแลของ สอท. (ประมาณ 200 คน)

                 1.2 จัดทำระเบียบรายชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของ จนท. สอท. และจนท.ท้องถิ่น แล้วเวียนแจ้งให้คนไทยในความดูแลทราบ

                 1.3 จัดทำทะเบียนรายชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุหัวหน้าหน่วยงานและ จนท.ประสานงาน อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ท่าอากาศยาน สายการบิน องค์การขนส่ง องค์การบรรเทาทุกข์ต่างๆ ฯลฯ

                 1.4 จัดทำทะเบียนรายชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของคณะทูตานุทูตมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

                 1.5 จัดทำทะเบียนรายชื่อ ที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย และจนท.ประสานงานของ กต.

                 1.6 จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ เอกสารราชการ และอุปกรณ์สื่อสาร โดยจัดลำดับความสำคัญ แยกประเภทว่าสิ่งใดจะเก็บรักษาไว้ที่ สอท. และจำเป็นต้องขนย้ายไปด้วยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บและการขนย้ายเร่งด่วน

                 1.7 ตรวจสอบสภาพอาคารที่ทำการสอท. และทำเนียบ ออท. และปรับปรุงเพื่อเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัย เช่น ปรับปรุงรั้วหรือกำแพง ประตูเข้า-ออก ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด และเพิ่มไฟฟ้าสว่างบริเวณโดยรอบอาคาร เป็นต้น

 

2. การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

                 2.1 ออท.

                        - กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการ ประสานงานและหาข่าวระดับสูงควบคุมกำกับดูแลรับผิดชอบแผนปฏิบัติการในฐานะหัวหน้าสำนักงาน

                 2.2 อท.

                        - ช่วยควบคุมกำกับดูแลและรับผิดชอบในฐานะรองหัวหน้าสำนักงาน

                 2.3 อปท. – ทปษ. – ขรก. สอท.

                        - ออท. จะมอบหมายหน้าที่ให้ ขรก.ไทย โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและให้ประสานข้อมูลซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                             (1) ติดตามข่าวสถานการณ์ ประสานงาน ประมวลข่าว ประสานกระทรวงฯ หน่วยงานท้องถิ่นและคณะทูต

                             (2) ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัย สถานที่ทรัพย์สินและเอกสารของราชการ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยบุคคล

                             (3) เตรียมเอกสารเกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง และหนังสือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

                             (4) เตรียมการสำรองงบประมาณ สิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์สื่อสาร ยานพาหนะให้พร้อมใช้งานได้ทันที รวมทั้ง เครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค ให้เพียงพอในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยประมาณปริมาณการสำรองเป็นช่วงระยะเวลา เช่น 10 วัน 20 วัน หรือ 30 วัน

                             (5) ประสานงาน ตำรวจ และกระทรวงมั่นคงสาธารณะตลอดเวลา เพื่อการติดต่อขอกำลังคุ้มครองสถานที่กรณีจำเป็น

                             (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ ออท. มอบหมาย

                 2.4 เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

                             - ช่วยประสานตำรวจ หน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง      

                             - ระมัดระวัง ดูแล และรักษาความปลอดภัย ทั้งที่ทำการ สอท. และทำเนียบ ออท.

                             - เพิ่มความเข้มงวดบุคคลภายนอกที่มาติดต่อราชการหรืออื่นๆ กับ สอท.

                             - ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์สื่อสารและยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

                             - ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ สอท. มอบหมาย

 

3. การกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย                      

                 3.1 การรักษาความปลอดภัยสถานที่

                        ออท. มอบหมาย ขรก. ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสถานที่ ทั้งอาคารที่ทำการและทำเนียบโดยสำรวจสภาพอาคารที่ทำการ ทำเนียบ บริเวณโดยรอบและสภาพแวดล้อมภายนอก ว่ามีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ หากจำเป็นต้องปรับปรุง ก็ให้ดำเนินการตามความเหมาะสม จัดหาอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย เช่น ปรับปรุงรั้วหรือกำแพงและประตูทางเข้า-ออก ของที่ทำการ เพิ่มไฟฟ้าสว่างโดยรอบบริเวณอาคาร ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด ปิดล็อกประตูทางเข้า-ออก ตลอดเวลา จัดเวรยามดูแลและทำรายงานสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง หากเห็นว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่เป็นภัยคุมคาม ต้องติดต่อตำรวจท้องถิ่น และกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ

                 3.2 การรักษาความปลอดภัย ทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ และเอกสารของทางราชการ

                        สำรวจบัญชี ทรัพย์สิน ครุภัณฑ์ ของ สอท. และเอกสารราชการ ให้เป็นหมวดหมู่ กำหนดลำดับชั้นความสำคัญของทรัพย์สิน ชั้นความลับของเอกสาร กำหนดครุภัณฑ์และเอกสารที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในที่ซึ่งมั่นคง ปลอดภัยเพียงพอ ทั้งจากการจารกรรมและภัยธรรมชาติ เพื่อไม่ให้สูญหายหรือถูกทำลาย กำหนดครุภัณฑ์และเอกสารสำคัญยิ่งที่ต้องนำไปด้วย กรณีที่ต้องอพยพแล้วรายงานกระทรวงฯ พร้อมแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อทราบและช่วยอารักขา

                        สำรวจปรับปรุงสภาพครุภัณฑ์สื่อสารและยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพพร้อมและจัดหาเพื่อให้มีจำนวนเพียงพอแก่การใช้งาน

                 3.3 การรักษาความปลอดภัยบุคคล

                        - สั่งการให้ จนท.สอท.ทุกคนติดบัตรแสดงตนเมื่ออยู่ในพื้นที่ สอท.

                        - กำหนดช่องทางติดต่อเข้า-ออก ที่ทำการ สอท. และทำเนียบ ออท. สำหรับบุคคลภายนอกเพียงช่องทางเดียว เพื่อสะดวกต่อการรักษาความปลอดภัย

                        - ปิดล็อกกุญแจประตูทางเข้า-ออก ตลอดเวลา

                        - จัดเวรยามดูแลและสอบถามวัตถุประสงค์ผู้มาติดต่อ และแลกบัตรเข้า-ออก โดยลงบันทึกไว้ในสมุดรายงานประจำวัน เพื่อสะดวกแก่การตรวจสอบ ในกรณีต้องสงสัย ต้องขอตรวจค้นบุคคลที่มาติดต่อได้ด้วย

 

4. แผนปฏิบัติการ  

                 4.1 กรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน/การชุมนุมประท้วง/สงคราม/การจลาจล ซึ่งสามารภคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

                        กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติได้ดังนี้

                        4.1.1 ติดตามสถานการณ์ข่าวสารอย่างใกล้ชิดและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า โดยใช้ความแนบเนียนประสานเครือข่ายของ สอท.ทุกด้าน ทั้งหน่วยงานท้องถิ่น คณะทูตานุทูตองค์การระหว่างประเทศทั้งระดับสูงและจนท. แล้วรายงานกระทรวงฯ ทราบเป็นระยะๆ

                        4.1.2 แจ้งคนไทยและบริษัทห้างร้านไทยในความดูแลให้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารเดินทาง เครื่องยังชีพ และอุปกรณ์สื่อสาร โดยกำหนดให้มีผู้นำกลุ่มคนไทยจำนวนหนึ่งเพื่อมอบหมายหน้าที่กระจายข่าวสาร และรับผิดชอบเป็นศูนย์รวมกลุ่ม

                        4.1.3 กำหนดสถานที่เป็นศูนย์พักพิงของคนไทย โดยอาจใช้ที่ทำการ สอท. เพื่อใช้เป็นที่พักฉุกเฉิน

                        4.1.4 จัดเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ สิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์สื่อสาร ยานพาหนะ ให้เพียงพอสำหรับคนไทยและจนท. ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายและสงบลง หรือเตรียมพร้อมสำหรับการอพยพ

                        4.1.5 ประสานงานหน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบเป็นระยะๆ

                 4.2 กรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน การก่อการร้ายและภัยพิบัติ ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า

                        กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติได้ดังนี้

                        4.2.1 รายงานกระทรวงฯ และประสานหน่วยงานท้องถิ่นเท่าที่จะหาช่องทางติดต่อได้

                        4.2.2 ติดต่อผู้นำกลุ่มคนไทย เพื่อประสานงานให้ความช่วยเหลือ หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ให้หาทางรวมตัวอยู่ในที่ปลอดภัยตามที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ในข้อ 1 และข้อ 4.1

 

5. แผนอพยพคนไทย            

                 5.1 ขั้นตอนการดำเนินการ

                        - ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า และรายงานกระทรวงฯ เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องอพยพคนไทยกลับประเทศหรือไปประเทศที่สามที่ปลอดภัย

                        - แจ้งหน่วยงานท้องถิ่นเรื่องการปิดทำการ สอท. ชั่วคราว โดยรวบรวมทรัพย์สินและเอกสารสำคัญที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ไว้ในที่ปลอดภัย และจัดทำทะเบียบ แจ้งหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้อารักขาสถานที่และทรัพย์สิน

                        - ประสานงานหน่วยงานท้องถิ่น คณะทูตานุทูต องค์กรระหว่างประเทศ กรณีที่ต้องร่วมอพยพไปด้วยกัน

                        - กำหนดเส้นทางอพยพ โดยประสานกับผู้นำกลุ่มคนไทย ซักซ้อมความเข้าใจเตรียมความพร้อมและกำหนดให้เหมาะสมกับจำนวนคนไทยในความดูแล และความน่าจะเป็นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าจะต้องอพยพทางเครื่องบิน ทางบก หรือทางเรือ

                 5.2  กรณีอพยพทางเครื่องบิน เป็นแนวทางที่เหมาะสมและใช้เวลาน้อยที่สุด โดยกำหนดขั้นตอน ดังนี้

                        - กำหนดช่วงเวลาการอพยพ ซักซ้อมความเข้าใจ และประสานหน่วยงานท้องถิ่น

ท่าอากาศยาน บริษัทการบิน ตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด เพื่อสำรองที่นั่งเที่ยวบินปกติ หรือจัดเที่ยวบินพิเศษและเตรียมยานพาหนะรับ-ส่ง และจัดชุดคุ้มครองคนไทยไปสนามบิน เพื่อบินกลับประเทศไทย

                 5.3 กรณีจำเป็นต้องอพยพทางบก เนื่องจากสนามบินไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้หรือเส้นทางไปสนามบินไม่ปลอดภัย กำหนดขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

                        - กำหนดเส้นทางอพยพที่ใกล้และปลอดภัยที่สุด และประสานกับประเทศที่สามที่ต้องผ่านแดนหรือต้องไปอาศัยอยู่ชั่วคราว แล้วรายงานกระทรวงฯทราบ เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือระหว่างเส้นทางที่อพยพ

                        - เตรียมการด้านงบประมาณเพื่อใช้ระหว่างเดินทาง

                        - ติดต่อยานพาหนะและเช่ารถโดยสาร หรือจัดหารถโดยสารให้เพียงพอต่อจำนวนคนไทยในกรณีต้องแยกกลุ่มหรือต้องทะยอยอพยพ ให้จัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง

                        - ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นจัดรถอารักขา (หากสามารถทำได้)

                        - เตรียมเสบียง น้ำ และของใช้จำเป็นให้เพียงพอ

                 5.4 กรณีที่ต้องอพยพทางเรือ

                        - กำหนดเส้นทางอพยพทางเรือ เพื่อไปประเทศที่สามแล้วต่อไปประเทศไทยหรือพำนักอาศัยชั่วคราวในประเทศที่สามจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย รายงานกระทรวงฯ เพื่อประสานจัดเรือคอยรับผู้อพยพและประสานงานหน่วยงานท้องถิ่นประเทศที่สาม

                        - จัดเตรียมการด้านพาหนะรับ-ส่ง ไปท่าเรือ โดยจัดชุดอารักขาคนไทยถึงท่าเรือ

* * * * * * 

หมายเลขโทรศัพท์ประสานงานในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

หมายเลขโทรศัพท์ 024-3823-5092-4 ต่อ 130 
หมายเลข Hotline 090-454-4800

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

* * * * * *